Versailles no Bara กุหลาบแวร์ซายส์ PDF

Versailles no Bara กุหลาบแวร์ซายส์
เรื่อง และภาพ โดย Ikeda Riyoko

Versailles no Bara กุหลาบแวร์ซายส์  เป็นเรื่องราวตั้งแต่ก่อนปฎิวัติฝรั่งเศศจนกระทั่งจบ แต่เนื้อหาจะเน้นไปที่เรื่องราวของ ทหารองค์รักษ์ส่วนพระองค์ (ผู้หญิง) ชื่อ ออสการ จาร์เจ่ (Orcar Francois Jarjayes) ซึ่งเป็นบุตรสาวคนสุดท้องของ นายพลจาร์เจ่ ที่มีลูกสาวทั้งหมด ทำให้นายพลที่อยากได้ลูกชายมาก จึงได้ฝึกให้ออสการ์ให้ใช้ชีวิตเหมือนผู้ชาย โดยสอนการต่อสู้แบบทหาร และมีเพื่อนสนิทที่ฝึกทหารมาด้วยกันชื่อ อังเดร กรังดิเออร์ (Andre Grandier)

เรื่องราวเริ่มจาก พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศสได้ต้อนรับ พระนางมารี อ็องตัวเนต เจ้าหญิงแห่งออสเตรีย จากราชวงศ์ฮัมบูร์ เพื่อมาอภิเษกสมรสกับ มกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส (ต่อมาขึ้นเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 16) โดยตระกูลจาร์เจ่ ซึ่งเป็นตระกูลทหารรักษาพระองค์ของฝรั่งเศสเก่าแก่ ทำให้ออสการ์ได้รับตำแหน่งเป็นนายทหารองค์รักษ์รักษาพระองค์ และได้อารักขาพระนางมารีอ็องตัวเนต แต่ด้วยความที่พระนางมารีอ็องตัวเนตอายุยังน้อยทำให้พระนางมารี อ็องตัวเนตนั้น ชอบเรื่องบันเทิงเริงใจมากกว่า จึงเสด็จไปโรงละครต่างๆ และงานเลี้ยงเต้นรำ นอกจากนี้ยังสั่งซื้อเสื้อผ้ารวมถึงเครื่องประดับราคาแพงมาเพื่อให้สามารถออกงานเลี้ยงเต้นรำได้ แต่แล้วข่าวลือเรื่องการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยก็สะพัดไปทั่วปารีส โดยเฉพาะประชาชนที่กำลังอดอยากและกำลังเผชิญกับการขึ้นภาษีเพื่อสนองความต้องการของคนในวังและพระนาง โดยเฉพาะ เมื่อเกิดคดีสร้อยพระศอเพชร ซึ่งถูกแฉออกมาว่า นางใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยอย่างมาก ทำให้ประชาชนไม่พอใจและลุกฮือ ออสการ์และอังเดรจึงต้องเข้าร่วมต่อสู้กับประชาชนในการปฎิวัติฝรั่งเศส แต่ทั้งคู่กลับถูกยิงเสียชีวิต พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และเชื้อราชวงศ์ถูกจับกุม และถูกพิพากษาประหารชีวิต นั่นได้สร้างความตรึงเครียดให้กับพระนางมารี อ็องตัวเนต ทำให้เส้นพระเกศาสีทองกลายเป็นสีขาวเพียงชั่วข้ามคืน ก่อนที่นางจะถูกนำไปประหารชีวิตด้วย กิโยติน

เรื่องนี้ที่ญี่ปุ่นตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1971 รวมถึง ปี 2016 ตีพิมพ์ถึง 11 รอบ นับเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอด รวมถึงยังถูกบรรจุในหนังสืออ่านนอกเวลาเรียนภาษาอังกฤษที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย  ทำให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะรับรู้เรื่องราวดังกล่าว

Download  Versailles no Bara กุหลาบแวร์ซายส์ (Eng Edition) 
รวม 10 เล่ม (ภาษาอังกฤษ English Edition)
รวม 4 เล่ม  (ภาษาไทย Thai Edition)

ความรู้ก่อนอ่านการ์ตูนเรื่องนี้
เหตุการณ์ปฎิวัติฝรั่งเศส จุดเริ่มต้นนั้นเริ่มตั้งแต่ยุคกลางเป็นต้นมา สมัยนั้นมีเพียงแต่ระบบกษัตริย์ โดยกษัตริย์ฝรั่งเศสพยายามรวบอำนาจการปกครองไว้ที่ตัวเอง อย่างไรก็ดี ยุคนั้นการเมืองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยๆ ระบบของฝรั่งเศสขณะนั้น จะมี สภาฐานันดร ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยกษัตริย์บริหารงานภายในประเทศ แต่สภาฐานันดรนั้นจะประกอบไปด้วย ฐานันดรที่ 1 คือ ตัวแทนจากพระ ฐานันดรที่ 2 คือ ตัวแทนจากขุนนาง และฐานันดรที่ 3 คือ ตัวแทนจากสามัญชน (มีเสียงเพียงฐานันดรละ 1 เสียงเท่านั้น ดังนั้นสภานี้จึงไม่ถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนโดยสมบูรณ์ได้) แต่ด้วยระบบกษัตริย์ที่พยายามรวบรวมอำนาจไว้กับตัวเอง ทำให้สภาแห่งนี้ไม่เคยเปิดใช้งานมากว่า 174 ปี จนกระทั่งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำลงเรื่อยๆ พืชผลทางการเกษตรน้อยลงอย่างน่าใจหาย ประชาชนเริ่มอดอยาก มีใบปลิวโจมตีต่างๆ ไปทั่วประเทศ

และแล้วในปี 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ทรงเปิด สภาฐานันดร อีกครั้ง เพื่อขอออกกฎหมายห้ามเผยแพร่ใบปลิวโจมตี รวมถึงขอความเห็นจากสภาเรื่องการขึ้นภาษีเพิ่ม (ฝรั่งเศสยุคนั้น เพิ่งเสร็จสงครามในอเมริกา ทำให้ฝรั่งเศสขาดดุลงบประมาณมหาศาล นอกจากนี้ยังโดนประชาชนโจมตีเรื่องความฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังอีกด้วย) แต่ฐานันดรที่ 3 คือ สามัญชนทั่วไปนั้นกลับไม่เห็นด้วย และได้แยกตัวออกไปตั้ง สมัชชาแห่งชาติ โดยประกาศว่า สภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิขึ้นภาษีได้  และได้เปิดการประชุมสภาสมัชชาแห่งชาติที่สนามเทนนิส ทำให้เกิดประวัติศาสตร์ คำปฎิญญาณสนามเทนนิส

แถมตอนนี้มีข่าวลือสะพัดไปทั่วปารีสว่า ราชวงศ์คนอื่นๆ พยายามกดดันให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เรียกทหารองค์รักษ์จากทั่วประเทศเข้ามาประจำที่กรุงปารีส และพระราชวัง รวมถึงวางแผนใช้กำลังสลาย "สมัชชาแห่งชาติ" ให้ได้ จุดเดือดมาเริ่มขึ้นเมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สั่งปลด แนแกร์ ผู้นำฐานนันดรที่ 3 ออกจากสภาฐานันดร ทำให้ประชาชนไม่ยอมและได้ลุกฮือในวันที่ 12 กรกฎาคม และอีก 2 วันถัดมา ประชาชนก็บุกทำลายคุกบัสตีย์ ถือเป็นจุดเร่ิมต้นแห่งการล้มระบบกษัตริย์ในประเทศฝรั่งเศส

แม้ว่า วันที่ 16 กรกฎาคม พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จะทรงคืนตำแหน่งแก่ แนแกร์ เพื่อลดความร้อนแรง แต่ถึงตอนนี้ ประชาชนได้ก่อตั้งกองทัพประชาชนสำเร็จแล้ว และได้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เน้นไปที่ "เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ" แต่ช่วงเริ่มแรกนั้น การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ยังคงรักษาสถานภาพของระบบกษัตริย์ไว้เช่นเดิม นั่นคือ ภาคประชาชนมีความเข้มแข็งมากแล้ว

แต่ในปี 1791 เกิดข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่วประเทศว่า พระนางอังรี อ็องตัวเน็ต นั้นได้แอบติดต่อกับพระเชษฐา เพื่อให้ยกทัพมาตีฝรั่งเศส เพื่อคืนอำนาจต่างๆ ให้กับราชวงศ์ แม้ว่าพระเจ้าหลุยส์จะไม่ได้พยายามหนีออกนอกประเทศ หรือ รับความช่วยเหลือใดๆ แต่พระองค์ก็เสด็จเดินทางไปอาศัยอยู่กับ นายพล บุยเล ที่จงรักภักดีกับพระองค์ และแล้วในคืนวันที่ 20 มิถุนายน 1791 พระองค์ทรงถูกจับกุมตัวได้ที่เมืองวาเรนน์ ทำให้พระองค์ถูกจับตัวมากักบริเวณที่กรุงปารีสอีกครั้ง

ต่อมา หลังจากรัฐธรรมนูญใหม่ถูกประกาศใช้แล้ว โดยในรัฐธรรมนูญใหม่มีการระบุว่า หากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงนำกองทัพจากต่างชาติมาช่วยเหลือหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญอื่นๆ จะถือว่า พระองค์สละราชสมบัติเองโดยอัตโนมัติ ครั้งนี้เองที่มีการปล่อยกระแสมวลชนออกมาว่า พระองค์ต้องสละราชสมบัติเนื่องจากพระองค์ได้เคยเสร็จออกจากพระราชวังไปแล้วเมื่อครั้งไปอาศัยอยู่กับนายพล บุยเล โดยมีการให้ประชาชนจากทั่วประเทศเดินทางมากรุงปารีสเพื่อลงนามรองรับกฎหมายฉบับนั้น แต่เหล่าทหารองค์รักษ์กลับออกมายิงประชาชนทำให้ประชาชนเสียชีวิตไปประมาณ 50 คน ถึงตอนนี้ ประชาชนลุกฮือและจับพระราชวงศ์ทั้งหมดเข้าคุกและจับประหารราชวงศ์ทั้งหมดด้วยกิโยติน

อย่างไรก็ดี หลังเสร็จสิ้นการปฎิวัติฝรั่งเศสครั้งนั้น ฝรั่งเศสกลับได้ นโปเลียน โปนาปาร์ต เป็นผู้นำสูงสุด โดยต่อมาก็สถาปนาตัวเองเป็น จักรพรรดิ และหลังจากนั้น ฝรั่งเศสก็เป็นยุคการต่อสู้ทางการเมืองของ พวกนิยมกษัตริย์ (มักเรียกตัวเองว่าเป็นนพวก อนุรักษ์นิยม) โดยเฉพาะเหล่าขุนนาง ทหารองค์รักษ์ และนายทุนรุ่นเก่าที่ได้ผลประโยชน์กับระบบดั้งเดิม กับ พวกต่อต้านระบบกษัตริย์ (มีกเรียกตัวเองว่าเป็นพวก หัวก้าวหน้า) โดยเฉพาะเหล่าเสรีชน คนชั้นแรงงาน หรือ นายทุนรุ่นใหม่ มายาวนาน ..

Related Posts

แสดงความคิดเห็น

Subscribe Our Newsletter